24 August 2012

นาวาแห่งความรอดพ้น

อ่านคุฎบะห์อีดิลฟิตรี 1433 "นาวาแห่งความรอดพ้น" โดย อ.มัสลัน มาหะมะ ณ ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา

18 March 2012

การแต่งงาน

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
หนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์

ความเข้าใจว่าด้วยการสมรส
การแต่งงานและการมีครอบครัวเป็นวิถีทางหนึ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนดแก่สรรพสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทั้งสรรพสัตว์และพืชพรรณต่างๆ ด้วย
สำหรับมนุษย์นั้นอัลลอฮฺได้สร้างขึ้นมาแตกต่างจากสรรพสิ่งอื่นๆ ที่ไม่มีขอบเขตด้านการสนองความใคร่โดยสิ้นเชิง และอัลลอฮฺนั้นได้วางกรอบแนวทางและกฎระเบียบที่ชัดเจนเหมาะสมกับการเป็นสัตว์ประเสริฐ เพื่อที่จะรักษาชื่อเสียงเกียรติยศและวงศ์ตะกูลของมนุษย์เอง สิ่งเหล่านี้ย่อมจะรักษาได้ก็ต่อเมื่อมีการแต่งงานที่ถูกต้อง และการแต่งงานนั้นย่อมก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงที่มีเกียรติ บนฐานแห่งความพอใจระหว่างกัน การให้และการรับ และมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน
การแต่งงานเป็นการสนองต่ออารมณ์ด้วยทางที่ถูกต้อง และเพื่อที่จะรักษาเชื้อสายวงศ์ตระกูลให้สามารถดำรงสืบสานต่อไปได้ และปกป้องสตรีเพศจากการเป็นเหยื่อถูกกระทำจากใครก็ตามที่ประสงค์ไม่ดีกับนาง
ความประเสริฐของการแต่งงาน
การแต่งงานนั้นเป็นแบบอย่างที่ได้รับการสนับสนุนอย่างที่สุดของบรรดาศาสนทูต และเป็นแนวทางที่รอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่งเสริมมากยิ่งนัก ดังที่ได้ระบุในอายะฮฺและหะดีษดังต่อไปนี้
1. อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
ความว่า "ประการหนึ่งจากสัญลักษณ์ทั้งหลายของพระองค์นั้น คือ ทรงสร้างคู่ครองให้พวกเจ้าให้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้านั้นจะได้มีความสุขอยู่ด้วยกัน และได้ทรงให้มีความรักใคร่และเมตตาระหว่างกัน แท้จริงแล้วในกรณีนี้ ย่อมเป็นสัญญาณให้แก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญทั้งหลาย" (อัรรูม 21)
2. อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
ความว่า “และโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดาศาสนทูตมาก่อนหน้าเจ้า และเราได้ให้พวกเขามีภริยาและลูกหลาน ...” ( อัรเราะอฺดุ 38)

3. จากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า พวกเราเป็นเด็กหนุ่มที่อยู่กับท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเราไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย(เพื่อสร้างครอบครัว) ท่านจึงได้กล่าวกับเราว่า
«يَا مَعْشَرَ الشَّبَابِ، مَنِ اسْتَطَاعَ البَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ، فَإنَّـهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ، وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ، وَمَنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْـهِ بِالصَّوْمِ فَإنَّـهُ لَـهُ وِجَاءٌ». متفق عليه.
ความว่า "โอ้บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดในหมู่พวกเจ้านี้มีความสามารถ(ในการครองคู่) ก็จงแต่งงานเถิด เพราะแท้จริงนั้น(การแต่งงาน)เป็นการลดสายตาให้ต่ำลงได้ อีกทั้งให้พวกเจ้าสามารถสงวนอวัยวะเพศได้ และผู้ใดที่ไม่มีความสามารถก็จงถือศีลอดเสียเถิด เพราะการถือศีลอดเป็นการลดอารมณ์เพื่อให้ทุเลาลง" ( บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5066 และมุสลิม 1400)

ความหมายการแต่งงาน
การแต่งงาน (นิกาห์ หรือ ซะวาญจ์) นั้นคือ พันธะสัญญาตามหลักศาสนา ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อให้ฝ่ายชายและหญิงนั้นสามารถหาความสุขซึ่งกันและกันจากคู่ครองของเขาได้
การบัญญัติให้มีการแต่งงาน
1. การแต่งงานเป็นบรรยากาศที่ดีซึ่งนำไปสู่การสร้างรากฐานและความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เข้มแข็ง เป็นการทำให้จิตใจบริสุทธิ์จากพฤติกรรมเสื่อมทราม ก่อให้เกิดความสงบสุข เนื่องจากความรักใคร่ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา
2. การแต่งงานเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการให้กำเนิดลูกและบุตรหลาน และเพื่อสืบสานวงศ์ตระกูลต่อไป ซึ่งจะก่อให้เกิดการทำความรู้จักกัน สัมพันธไมตรี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3. การแต่งงานเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสนองต่อความต้องการทางเพศและขจัดอารมณ์ใคร่ และให้ปราศจากโรคภัยต่างๆ
4. การแต่งงานสามารถที่จะสร้างครอบครัวที่ดีอันเป็นฐานที่เข้มแข็งสำหรับสังคมได้ ต่างคนก็ต่างมีหน้าที่กัน สามีก็ทำหน้าที่ในการหาเลี้ยงชีพ รับภาระค่าใช้จ่ายและเลี้ยงดู ส่วนภรรยาก็ทำหน้าที่อบรมบ่มนิสัยเลี้ยงดูลูกๆ คอยจัดระเบียบสิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านให้เรียบร้อย และวางระเบียบให้กับชีวิตในบ้าน ด้วยสิ่งนี้จะทำให้ชีวิตในสังคมเกิดความมั่นคง
5. การแต่งงานนั้นได้ตอบสนองความต้องการของการเป็นพ่อแม่ ซึ่งเกิดได้จากการที่มีลูกๆ ให้เลี้ยงดู

ข้อตัดสินของการแต่งงาน
1. การแต่งงานเป็นสุนัต (ส่งเสริมให้กระทำ) สำหรับผู้ที่มีความต้องการทางเพศและไม่วิตกกังวลถึงตัวเองว่าจะไปซินา(ประพฤตผิดทางเพศ) เนื่องจากการแต่งงานนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มหาศาล สำหรับชายและหญิง และสำหรับปวงชนทั้งหลาย
2. การแต่งงานเป็นวาญิบ (สิ่งจำเป็น) สำหรับผู้ที่กลัวว่าตนเองจะตกอยู่ในภาวะการซินาหรือประพฤติผิดทางเพศถ้าเขาไม่ได้แต่งงาน และเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับสองสามีภรรยาที่จะต้องตั้งเจตนาในการแต่งงานของเขาทั้งสองนั้นว่าเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ใจแก่ตัวเองและเพื่อป้องกันตัวจากการกระทำสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺได้ห้ามไว้ เมื่อตั้งเจตนาดังกล่าวแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ของทั้งสองก็จะถูกบันทึกว่าเป็นเศาะดะเกาะฮฺประการหนึ่ง

การเลือกภรรยา
เป็นสิ่งที่สุนัตสำหรับผู้ที่ต้องการจะแต่งงาน ให้เลือกผู้หญิงที่มีนิสัยรักใคร่สามี และสามารถให้บุตรได้หลายคน เป็นผู้ที่บริสุทธิ์จากมลทิน มีศาสนาอยู่ในตัว
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
«تُنْكَحُ المَرْأَةُ لأَرْبَـعٍ: لِـمَالِـهَا، وَلِـحَسَبِـهَا، وَجَـمَالِـهَا، وَلِدِينِـهَا، فَاظْفَرْ بِذَاتِ الدِّينِ تَرِبَتْ يَدَاكَ». متفق عليه.
ความว่า "ผู้หญิงนั้นจะถูกแต่งงานเนื่องด้วยสาเหตุสี่ประการ คือ เนื่องจากทรัพย์สินของนาง หรือเนื่องจากวงศ์ตระกูลของนาง หรือเนื่องจากความสวยงามของนาง หรือเนื่องจากศาสนาของนาง ดังนั้นจงเลือกแต่งงานกับสตรีที่มีศาสนาอยู่ในตัว แล้วสองมือท่านก็จะมีโชค" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5090 และ มุสลิม 1466)

ผู้หญิงที่ดีที่สุด
ผู้หญิงที่ดีที่สุดนั้น คือ หญิงที่ศอลิหะฮฺ(สตรีที่มีคุณธรรม) ในยามที่ท่านมองไปยังนางแล้วท่านจงมีความสุข เมื่อท่านให้คำสั่งแก่นางแล้วนางก็จะปฏิบัติตาม และนางจะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ท่านไม่พอใจ ไม่ว่าด้วยเรื่องของนางเอง หรือในเรื่องของทรัพย์สินของท่าน นางจะปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺสั่งและหลีกเลี่ยงในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«الدُّنْيَا مَتَاعٌ وَخَيْرُ مَتَاعِ الدُّنْيَا المَرْأَةُ الصَّالِـحَةُ». أخرجه مسلم.
ความว่า "โลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความสุข และสิ่งที่ให้ความสุขที่ประเสริฐที่สุดในโลกก็คือผู้หญิงที่ดี" (บันทึกโดย มุสลิม 1467)

การบัญญัติอนุญาตให้มีภรรยาหลายคน
1. พระองค์อัลลอฮฺ ได้อนุญาตให้ผู้ชายมีสิทธิแต่งงานกับผู้หญิงได้ไม่เกินสี่คน โดยมีเงื่อนไขว่า ชายผู้นั้นมีคุณสมบัติความสามารถทางด้านร่างกาย และความพร้อมด้านทรัพย์สินเงินทอง รวมทั้งต้องมีความสามารถที่จะให้ความยุติธรรมในระหว่างภรรยา การอนุญาตเช่นนี้เนื่องจากว่าจะทำให้เขาได้ปกป้องตัวเองจากการประพฤติที่เสื่อมทราม(จากการผิดประเวณี) และเป็นการรักษาความบริสุทธิ์ของหญิงที่เขาแต่งงานด้วย(ไม่ให้พวกนางต้องประพฤติผิดด้วยการซินา) เป็นการทำความดีแก่พวกนาง เพื่อจะได้มีการสืบวงศ์ตระกูลและเป็นการเพิ่มประชากรให้มากขึ้นและเพิ่มจำนวนบ่าวที่จะทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺอีกด้วย
แต่ถ้าคิดว่าจะไม่ยุติธรรมระหว่างพวกนาง ก็ต้องมีภรรยาเพียงคนเดียว หรือไม่ก็อนุญาตให้แต่งกับทาสหญิงผู้ศรัทธาที่เขาครอบครองอยู่ และเขาไม่จำเป็นต้องแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันระหว่างทาสีที่เขาครอบครอง
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
ความว่า "และหากพวกเจ้าเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในบรรดาเด็กกำพร้าได้ ก็จงแต่งงานกับผู้ที่ดีแก่พวกเจ้าในหมู่สตรี สองคนหรือสามคน หรือสี่คน แต่ถ้าพวกเจ้าเกรงว่าพวกเจ้าจะให้ความยุติธรรมไม่ได้ ก็จงมีแต่หญิงเดียว หรือไม่ก็หญิงที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครองอยู่(หมายถึงทาสหญิง) นั่นเป็นสิ่งที่ใกล้กว่าในการที่พวกเจ้าจะไม่ลำเอียง" (อัน-นิสาอ์ 3)
2. ในเมื่อพระองค์ได้ทรงอนุญาตให้มีภรรยาหลายคนได้ ก็มีการห้ามไม่ให้รวมกับคนที่มาจากตระกูล ใกล้ชิดกัน เช่น แต่งงานเอาทั้งพี่สาวและน้องสาวในช่วงเวลาเดียวกัน หรือในระหว่างหญิงสาวเองกับน้า หรือป้าของนางในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้เกิดการตัดขาดความสัมพันธ์ ความผูกพันที่มีให้กัน และยังจะก่อให้เกิดความบาดหมางกันในหมู่เครือญาติ เพราะความหึงหวงระหว่างผู้หญิงด้วยกันนั้นเป็นสิ่งที่รุนแรงมาก

การหมั้นหมายกับผู้หญิง
สำหรับชายคนใดที่ต้องการจะหมั้นกับหญิงคนหนึ่ง สุนัตให้เขาต้องดูตัวนางก่อนและดูสิ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดการแต่งงานขึ้นจริงๆ ทั้งนี้ เวลาดูตัวต้องอยู่ในที่เปิดเผยไม่ใช่สองต่อสอง ที่สำคัญห้ามสลามกับนาง หรือแตะต้องตัวนางเด็ดขาด และห้ามเปิดเผยในสิ่งที่ได้พบเห็นเกี่ยวกับตัวนาง ในขณะที่ผู้หญิงเองก็มีสิทธิจะมองดูชายที่ต้องการจะหมั้นหมายกับนางเช่นกัน ถ้าหากชายคนใดไม่สามารถที่จะดูฝ่ายหญิงด้วยตัวเองได้ ก็ให้ส่งตัวแทนผู้หญิงคนหนึ่งที่น่าเชื่อถือได้ ไปดูหญิงที่หมายปองไว้ แล้วมาบอกแก่ชายคนดังกล่าวแทน
- หญิงใดที่สามีเสียชีวิตแล้วนางได้แต่งงานใหม่ ในวันปรโลกหญิงคนนั้นจะเป็นสิทธิของสามีคนสุดท้ายของนาง

การหมั้นหญิงที่ถูกหมั้นอยู่ก่อนหน้าแล้ว
ห้ามแลกเปลี่ยนรูปภาพในการหมั้นหรืออื่นๆ และห้ามชายผู้หนึ่งไปหมั้นกับหญิงที่มีผู้อื่นหมั้นอยู่แล้วหรือจับจองแล้ว จนกว่าชายผู้นั้นจะถอนหมั้น หรือต้องได้รับการอนุญาตจากชายผู้นั้นเสียก่อน หรือชายคนแรกถูกบอกยกเลิกจากฝ่ายหญิ่ง ถ้าเขาไปหมั้นซ้อนชายอื่น การหมั้นหมายของเขานั้นถือว่าใช้ได้ แต่เขาจะเป็นผู้ที่ทำบาปและทรยศต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์
วาญิบ(จำเป็น)สำหรับผู้ปกครองของฝ่ายหญิงที่จะต้องหาผู้ชายที่มีคุณธรรมให้แก่ลูกสาวของเขาได้แต่งงาน ถือว่าไม่เป็นไรถ้าหากจะเสนอลูกสาว พี่สาว หรือน้องสาว ให้แก่ชายที่เป็นคนดีมีคุณธรรมด้วยเจตนาเพื่อให้แต่งงานกัน
ห้ามแสดงเจตน์จำนงอย่างตรงไปตรงมาในการสู่ขอหรือขอหมั้นกับหญิงที่อยู่ในช่วงอิดดะฮฺ(ช่วงเวลาแห่งการรอคอย)จากการตายของสามี หรือหญิงที่ถูกหย่าขาดจากสามีคนเก่า แต่อนุญาตให้แสดงเจตนาอย่างเป็นนัย(ไม่เปิดเผยโจ่งแจ้ง) เช่น กล่าวแก่หญิงที่อยู่ในอิดดะฮฺว่า "คนอย่างคุณนี้ฉันชอบนะ" และทางฝ่ายหญิงก็อาจจะกล่าวว่า "ฉันเองก็ไม่ได้เกลียดคุณ" หรือคำอื่นๆ ในลักษณะนี้
และอนุญาตให้กล่าวสู่ขอหญิงผู้อยู่ในอิดดะฮฺด้วยคำพูดที่ชัดเจนหรือเป็นนัยได้สำหรับสามีของนางซึ่งหย่าจากนางแบบบาอินที่ไม่ถึงสามครั้ง และไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่สามีกล่าวสู่ขอหญิงที่ถูกหย่าแบบร็อจญ์อีย์(ยังอยู่ในสภาพที่สามารถคืนดีกับสามีคนเก่าได้)ในขณะที่นางอยู่ในช่วงอิดดะฮฺไม่ว่าจะด้วยคำพูดที่ชัดเจนหรือเป็นนัยก็ตาม

หลักการแต่งงาน มีสามประการ คือ
1. สองคู่บ่าวสาว ซึ่งต้องปราศจากข้อห้ามที่เป็นโมฆะของการแต่งงาน เช่น เป็นพี่น้องร่วมแม่นมคนเดียวกัน หรือมีศาสนาแตกต่างกัน เป็นต้น
2. ต้องมีการกล่าว อีญาบ (สำนวนมอบ) หมายถึง สำนวนเสียงที่ออกจากปากผู้ปกครอง หรือผู้ที่ทำการแทนผู้ปกครองในการแต่งงาน เช่น ฉันทำการแต่งงานคุณกับ... หรือ ฉันมอบให้คุณครอบครองผู้หญิงคนนี้ชื่อ... เป็นต้น
3. ต้องมีการกล่าว เกาะบูล (สำนวนตอบรับ) หมายถึง สำนวนเสียงที่ออกจากปากชายที่ต้องการแต่งงานหรือผู้ที่รับแทนเขาในการแต่งงาน เช่น ฉันตอบรับการแต่งงานนี้
เมื่อมีการกล่าวมอบและกล่าวตอบรับ ก็ถือว่าเป็นการแต่งงานที่ใช้ได้แล้ว

การขออนุญาตจากผู้หญิงในการแต่งงาน
จำเป็นสำหรับผู้ปกครองของฝ่ายหญิงที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแต่งงานที่จะต้องขออนุญาตจากนางก่อนการทำพิธีแต่งงาน ไม่ว่านางจะเป็นสาวที่ยังไม่เคยผ่านการแต่งงานมาก่อนหรือเป็นหม้ายแล้วก็ตาม และห้ามบังคับให้นางแต่งงานกับคนที่นางัรังเกียจ หากมีการแต่งงานโดยที่นางไม่ได้ยินยอมด้วย นางก็มีสิทธิที่จะยกเลิกการแต่งงานได้
1. รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لا تُنْكَحُ الأَيِّـمُ حَتَّى تُسْتَأْمَـرَ، وَلا تُنْكَحُ البِكْرُ حَتَّى تُسْتَأْذَنَ» قالوا: يا رسول الله وكيف إذنها؟ قال: «أَنْ تَسْكُتَ». متفق عليه.
ความว่า "ห้ามทำการแต่งงานให้หญิงหม้าย จนว่าจะถูกสั่งจากนางเองให้ทำการแต่งงาน และห้ามทำการแต่งงานให้กับสาวที่ยังไม่เคยแต่งงานจนกว่าจะได้รับการยินยอมจากนางให้ทำการแต่งงานได้" บรรดาเศาะหาบะฮฺถามว่า “โอ้ท่าน รอซูลุลลอฮฺ การยินยอมของนางนั้นเป็นแบบไหน ?” ท่านรอซูลก็ตอบว่า “การนิ่งเงียบของนาง นั่นคือการยินยอมแล้ว” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5136 และมุสลิม 1419)
2. จากค็อนสาอ์ บิน ค๊อดดาม อัล-อันศอรียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า แท้จริงพ่อของนางทำการแต่งงานนางในขณะที่นางนั้นเป็นหม้าย และนางก็ไม่ชอบการแต่งงานดังกล่าว แล้วนางก็มาหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และท่านรอซูลก็ได้ปฏิเสธ(ไม่ยอมรับ)การแต่งงานดังกล่าว (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5138)
- อนุญาตให้พ่อทำการแต่งงานลูกสาวที่ยังไม่ถึงเก้าปี ซึ่งนางต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมเหมาะสมสำหรับการแต่งงานนั้น โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือยินยอมจากลูกสาว
- ห้ามไม่ให้ชายสวมใส่แหวนหมั้นที่ทำมาจากทอง และการสวมใส่แหวนดังกล่าวนั้นนอกจากจะเป็นการคล้ายคลึงกับผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว ยังถือเป็นสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติศาสนาอีกด้วย

การอ่านคุฏบะฮฺในการแต่งงาน
สุนัตสำหรับผู้ที่ทำการแต่งงาน ให้อ่านคุฏบะฮฺ อัล-หาญะฮฺ (การให้โอวาทตามที่มีปรากฏในรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ก่อนการทำพิธีแต่งงาน ดังที่ได้อธิบายแล้วในคุฏบะฮฺวันศุกร์ ซึ่งมันถูกใช้กล่าวในการแต่งงานและอื่นๆ เช่น เริ่มด้วย
«إن الحمد ٬ نحمده ونستعينه... إلخ»
“แท้จริงการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ เราขอสรรเสริญพระองค์และขอความช่วยเหลือจากพระองค์....” จนจบ
จากนั้นให้อ่านอายะฮฺอัลกุรอานที่เกี่ยวข้องตามที่มีปรากฏในรายงาน หลังจากนั้นจึงทำพิธีสมรส โดยให้มีพยานเป็นผู้ชายสองคน

การแสดงความยินดีกับการแต่งงาน
การแสดงความยินดีกับการแต่งงานเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้กระทำ ดังที่รายงานจาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า แท้จริงแล้วท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านแสดงความยินดีท่านก็จะกล่าวว่า
«بَارَكَ الله لَكُمْ، وَبَارَكَ عَلَيْكُمْ، وَجَـمَعَ بَيْنَكُمَا فِي خَيرٍ». أخرجه أبو داود وابن ماجه.
(คำอ่าน บาเราะกัลลอฮุ ละกุม, วะ บาเราะกะ อะลัยกุม, วะ ญะมะอะ บัยนะกุมา ฟี ค็อยรฺ)
ความว่า “ขอให้อัลลอฮทรงประทานความบารอกัตแก่พวกท่านทั้งหลาย และขอความประเสริฐจงประสบแด่พวกท่านทั้งหลาย และขอให้พระองค์รวมท่านทั้งหลายนั้นอยู่ในคุณความดี” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 2130 และอิบนุ มาญะฮฺ 1905 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
- อนุญาตสำหรับผู้ที่ได้ผ่านพิธีแต่งงานเสร็จแล้ว ให้อยู่กับภรรยาของเขาได้เลย และอยู่สองต่อสองกับนางได้ และคลุกคลีกับนางได้ทันที เพราะนางเป็นภรรยาของเขาแล้ว และห้ามกระทำสิ่งดังกล่าวก่อนพิธีแต่งงาน ถึงแม้จะเป็นหลังจากการหมั้นหมายแล้วก็ตาม

ช่วงเวลาสำหรับการแต่งงานของฝ่ายหญิง
อนุญาตให้จัดพิธีแต่งงานกับหญิงในขณะที่นางปราศจากประจำเดือน หรืออยู่ในช่วงประจำเดือนก็ได้ แต่ห้ามทำการหย่าในขณะที่นางอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน ดังที่จะได้อธิบายในเรื่องที่เกี่ยวกับการหย่าต่อไป

เงื่อนไขของการแต่งงาน
1. ต้องระบุเจาะจงว่าคนใดที่จะแต่งงาน ทั้งจากฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว
2. การยินยอมของทั้งสองคู่บ่าวสาว
3. ต้องมีวะลีย์หรือผู้ปกครอง ไม่อนุญาตให้ทำการแต่งงานหญิงใดเว้นแต่ต้องมีผู้ปกครอง
4. การแต่งงานต้องมี มะฮัร (สินสอด)
5. คู่บ่าวสาวทั้งสองต้องปราศจากข้อห้ามของการแต่งงาน ที่ห้ามให้มีการแต่งงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุเชื้อสาย หรือสาเหตุการร่วมแม่นม หรือความแตกต่างในด้านศาสนาของทั้งสอง เป็นต้น

เงื่อนไขของวะลีย์
วะลีย์ หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงที่จะทำการแต่งงานนางนั้น มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ชาย เป็นไท บรรลุวัยแห่งศาสนภาวะ มีสติปัญญา เป็นคนที่มีความคิดแยกแยะได้ และต้องนับถือศาสนาเดียวกันกับเจ้าสาว
สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจนั้นมีสิทธิที่จะทำการแต่งงานหญิงกาฟิรที่ไม่มีผู้ปกครองได้
ผู้ปกครองนั้นก็คือ พ่อของหญิง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการทำการแต่งงานให้กับเจ้าสาว ถัดไปก็คือผู้ที่พ่อได้สั่งเสียให้ทำการแต่งงานแทนเขา ถัดไปก็เป็นปู่ของนาง จากนั้นก็เป็นลูกชายของนาง จากนั้นก็พี่ชายหรือน้องชายของนาง จากนั้นก็ลุงหรืออา(พี่น้องของพ่อ)ของนาง หลังจากนั้นก็คือผู้ที่มีเชื้อสายตระกูลใกล้ชิดกับนางมากที่สุด สุดท้ายก็คือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (วะลีย์ สุลฏอน)

การเป็นพยานในการแต่งงาน
สุนัตให้มีพยานในการแต่งงาน ซึ่งต้องเป็นชายสองคนที่มีคุณธรรมความยุติธรรม และเป็น มุกัลลัฟ (บุคคลที่บรรลุวัยทางศาสนภาวะและเป็นบุคคลปกติที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจตามบัญญัติศาสนา)
หากการแต่งงานมีพยานรู้เห็นสองคนและมีประกาศให้รับทราบ ก็ถือว่าเป็นพิธีที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ถ้าหากได้มีการประกาศให้รับทราบโดยไม่มีพยานสองคน หรือมีพยานรู้เห็นแต่ไม่ได้ประกาศ ก็ถือว่าการแต่งงานนั้นใช้ได้เช่นกัน

หุก่มการแต่งงานโดยปราศจากวะลีย์
ถ้าผู้ปกครองของฝ่ายหญิงไม่รับที่จะเป็นวะลีย์ หรือไม่มีเงื่อนไขพร้อมที่จะเป็นวะลีย์ หรือไม่อยู่และไม่สามารถที่จะเรียกเขามาเป็นวะลีย์ได้เว้นแต่ด้วยความยากลำบาก ก็ให้ผู้ปกครองคนอื่นถัดไปจากเขามาทำการแต่งงานให้เจ้าสาวแทน
การแต่งงานโดยไม่มีผู้ปกครองนั้นใช้การไม่ได้เพราะไม่ถูกวิธี จำเป็นจะต้องยกเลิกการแต่งงานนั้นกับผู้พิพากษา หรือด้วยการหย่าร้างจากเจ้าบ่าวต่อเจ้าสาว แต่ถ้าหากเจ้าบ่าวมีเพศสัมพันธ์กับเจ้าสาวด้วยการแต่งงานที่ใช้ไม่ได้ดังกล่าว ก็จำเป็นต้องจ่ายสินสอดให้กับนาง เนื่องจากได้มีเพศสัมพันธ์กับนางแล้ว

ความพร้อมและเหมาะสมของคู่บ่าวสาว
ความพร้อมและความเหมาะสมระหว่างสองสามีภรรยา คือความเหมาะสมในด้านศาสนาและการเป็นไท แต่ถ้าผู้ปกครองทำการแต่งงานหญิงสาวที่ดีคู่กับชายชั่ว หรือหญิงที่เป็นไทคู่กับชายที่เป็นทาส การแต่งงานนั้นถือว่าถูกต้องตามพิธี แต่เป็นสิทธิสำหรับเจ้าสาวที่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่หรือยกเลิกการแต่งงานนั้น

เป้าหมายของการมีเพศสัมพันธ์
เป้าหมายของการมีเพศสัมพันธ์ มีสามประการ คือ 1) รักษาสกุล 2) ระบายน้ำ(อสุจิ)ที่เป็นพิษภัยต่อร่างกายเมื่อถูกกังขังไว้ในร่างกายโดยไม่ได้ระบายออก 3) สนองความต้องการและเพื่อได้รับความสุขและเสพสุขกับนิอฺมัตที่อัลลอฮฺประทานให้ ประการสุดท้ายนี้จะบรรลุอย่างสมบูรณ์แบบที่สุดถ้าหากเกิดขึ้นในสวนสวรรค์

สิ่งที่สามีต้องทำในเมื่อเข้าห้องนอนกับภรรยาของเขา
1. สุนัตสำหรับชายที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขา ต้องเริ่มด้วยความอ่อนโยนกับนาง ด้วยการเอามือของเขาวางบนศีรษะของนางและกล่าวนามของพระองค์อัลลอฮฺ และขอพรด้วยความประเสริฐ หลังจากนั้นก็กล่าวว่า
«اللَّـهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ خَيْرَهَا وَخَيْرَ مَا جَبلْتهَا عَلَيْـهِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّهَا وَمِنْ شَرِّ مَا جَبلْتهَا عَلَيْـهِ». أخرجه أبو داود وابن ماجه.
(คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ ค็อยเราะฮา, วะ ค็อยเราะ มา ญะบัลตะฮา อะลัยฮิ, วะ อะอูซุบิกะ มิน ชัรริฮา, วะ มิน ชัรริ มา ญะบัลตะฮา อะลัยฮิ)
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอต่อพระองค์จากความดีของนาง และความดีของสิ่งที่พระองค์ได้ทรงให้นางเกิดมาด้วยสิ่งนั้น และฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายของนางทั้งปวง และความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ได้ทรงให้นางเกิดมาด้วยสิ่งนั้นด้วยเถิด” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อบู ดาวูด 2160 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อิบนุ มาญะฮฺ 2252)
2. สุนัตให้กล่าวพระนามของอัลลอฮฺก่อนจะสอดใส่อวัยวะเพศ และกล่าวดุอาอ์ว่า
«بِاسْمِ الله، اللَّـهُـمَّ جَنِّبْنَا الشَّيْطَانَ، وَجَنِّبِ الشَّيْطَانَ مَا رَزَقْتَنَا».
(คำอ่าน บิสมิลลาฮฺ, อัลลอฮุมมัจญ์นิบนัช ชัยฏอน, วะ ญันนิบิชชัยฏอน มา เราะซักตะนา)
ความว่า "ด้วยนามของอัลลอฮฺ โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ทรงให้ชัยฏอนอยู่ห่างจากเราด้วยเถิด และขอพระองค์ได้ทรงให้ชัยฏอนอยู่ห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ประทานให้กับเรา(หมายถึงลูกที่ได้จากการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งนี้)"
เพราะแท้จริงแล้ว ถ้าหากอัลลอฮฺกำหนดให้มีบุตรขึ้นระหว่างเขาทั้งสองเพราะการร่วมหลับนอนในครั้งนั้น ชัยฏอนก็ไม่สามารถทำอันตรายแก่ลูกคนนี้ได้เลย (บันทึก โดยอัล-บุคอรีย์ 6388 และ มุสลิม 1434)
3. อนุญาตให้สามีร่วมเพศกับภรรยาทางอวัยวะเพศของนางจากด้านไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากด้านหน้าหรือด้านหลัง แต่ห้ามมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การอาบน้ำร่วมกัน
เมื่อสามีร่วมเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขาแล้วยังต้องการร่วมอีกครั้ง ก็สุนัตสำหรับเขาให้อาบน้ำละหมาด เพื่อจะทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น แต่ถ้าเขาอาบน้ำก็จะเป็นการดีกว่า และอนุญาตให้เขาทั้งสองอาบน้ำร่วมกันในที่เดียวกัน ถึงแม้จะมีการมองเห็นซึ่งกันและกันในห้องน้ำในบ้านของเขาทั้งสองนั้นก็ตามที
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า
كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يغتسل في القدح، وهو الفرق وكنت أغتسل أنا وهو في الإناء الواحد، قال قتيبة: قال سفيان: والفرق ثلاثة آصع. متفق عليه.
ความว่า "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้อาบน้ำจากน้ำใน เกาะดะห์ (ภาชนะใส่น้ำรูปร่างคล้ายกะละมังก้นลึก) มันคือ ฟัรก์ (มาตราการตวงประเภทหนึ่ง) และฉันเองก็อาบน้ำจากภาชนะเดียวกันร่วมกับท่าน" กุตัยบะฮฺ ผู้รายงานหะดีษกล่าวว่า : ซุฟยาน ได้อธิบายว่า น้ำใน ฟัรก์ เท่ากับ สาม ศออ์ (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 250 และ มุสลิม 319 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
สุนัตสำหรับทั้งสองคนไม่ให้นอนในสภาพที่มีญุนุบ(หลังการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่ได้อาบน้ำ) เว้นแต่ว่าทั้งสองนั้นได้อาบน้ำละหมาดก่อน

แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ

03 March 2012

"ไซออนิสต์" ลัทธิก่อการร้ายโลก

พ.ต.ต.ศุภชัช ยีหวังกอง
นายทหารนักเรียน ร.ร.เสนาธิการทหารบก
หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 86
กล่าวนำ

ทุก วันนี้ เมื่อพูดถึงการก่อการร้าย สิ่งแรกที่ทุกคนจะนึกถึงและวาดมโนภาพล่วงหน้าเอาไว้ในใจก็คือ ภาพของชายชาวอาหรับมุสลิมสวมหมวกสีขาวไว้เคราอย่างนายอูซามะฮ บินลาเด็น ผู้ก่อการร้ายอันตรายอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งอันที่จริงการที่ใคร ๆ จะคิดอย่างนั้นก็คงไม่แปลก เพราะอิทธิพลสื่อยักษ์ใหญ่ของชาติมหาอำนาจตะวันตก ได้ใช้พลังอำนาจในทุก ๆ ด้าน โหมโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้คนเสพสื่อเข้าใจว่า ลัทธิก่อการร้ายมาจากชาวอาหรับและคำสอนของศาสนาอิสลาม สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามบิดเบือนใส่ร้ายป้ายสีอิสลาม เห็นได้อย่างชัดเจน จากภาพยนต์ฮอลลีวู้ดหลายต่อหลายเรื่องที่นำออกฉายก่อนเกิดเหตุการณ์ 911 รวมทั้งการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation:IO) ทำลายศาสนาอิสลามทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความชอบธรรมก่อนการบุกประเทศอิรัก แต่ในขณะเดียวกันแผนการเพื่อการครอบงำ และทำลายโลกที่น่าสะพึงกลัวที่สุดเท่าที่เคยพบในโลกยุคใหม่นี้ กลับไม่มีใครที่จะระแคะระคายล่วงรู้ถึงภยันตรายของมันได้เลย เว้นแต่ผู้ที่ได้ติดตามศึกษามันอย่างพินิจพิเคราะห์ และได้ใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทั่วโลก เมื่อนั้นเขาก็จะประจักษ์ถึงแผนการร้ายของยิวที่ต้องการจะครองโลก บงการโลกแต่เพียงผู้เดียวโดยขบวนการก่อการร้ายที่มีชื่อว่า “ไซออนิสต์ (Zionist)”
ความมุ่งหมาย


บท ความนี้ ต้องการจะอธิบายถึงการก่อการร้ายที่น่าสะพึงกลัวที่สุดในโลกยุคใหม่ที่กระทำ โดย "ชาวยิว" ที่เป็นสมาชิกของ “ขบวนการไซออนิสต์” ซึ่งได้กระทำทารุณกรรม เข่นฆ่าสังหารชาวปาเลสไตน์อย่างเหี้ยมโหด การรุกรานขยายดินแดนด้วยการเข่นฆ่าและขับไล่ชาวอาหรับและปาเลสไตน์ได้ดำเนิน ไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรู้เห็นเป็นใจและการให้ความสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกมาโดย ตลอด ขณะเดียวกันเราจะต้องไม่ลืมชาวยิวผู้บริสุทธิ์ใจที่ยอมรับสิทธิของชาว ปาเลสไตน์ในแผ่นดินของพวกเขา และอยากที่จะเห็นสันติภาพที่ทำให้คนทั้งสองกลุ่มอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ

"ลัทธิไซออนิสต์" หรือ "องค์การไซออนิสต์" (Zionist) ยุคใหม่ ก่อตั้งโดยนายธีโอดอร์ เฮอร์เซิล ด้วย

เจตนาที่จะรื้อฟื้นสิ่งที่พวกเขาคิดว่า เป็นแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้เป็นการเฉพาะแก่พวกยิว (แผ่นดินแห่งพันธสัญญา)(Theodor Herzl: เกิดที่บูดาเปส ปี ค.ศ.1860 แล้วย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ในปี ค.ศ.1895 เสียชีวิตในเมือง โอลาค เมื่อ 2 ก.ค. 1904 ศพของเขาถูกย้ายไปยังปาเลสไตน์และฝังที่นั่น)

เพื่อสานต่อแนวคิดไซออนิสต์ในอดีต “เฮอร์เซิล” ได้จุดประกายความฝันให้กับชาวยิวทั้งโลกด้วยหนังสือชื่อว่า “Der Judenstaat” หรือ “The Jewish State” ที่ฉายภาพ “รัฐยิว” ในจินตนาการให้คนยิวและชาวโลกได้เห็น สิ่งที่เขาเน้นในหนังสือเล่มนี้คือ "ชาวยิว" จะต้องรับโทษประหัตประหารหรือตามเข่นฆ่าอยู่เสมอ ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติที่เขาอาศัยอยู่เพียงใดก็ตาม นอกเสียจากว่าชาวยิวจะมีประเทศเป็นของตนเอง ภาพร่างการก่อกำเนิดประเทศยิวของเฮอร์เซิล คือ รวบรวมและอพยพชาวยิวไปยังดินแดนหนึ่ง และทำสัญญากับมหาอำนาจในยุโรปเพื่อประกันสิทธิในดินแดนนั้น รวมทั้งต้องมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการอพยพ และตั้งถิ่นฐานใหม่นี้ด้วย และองค์กรที่ว่านี้คือ “ไซออนิสต์” นั่นเอง

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวยิวถึงได้มีความคิดอันยิ่งใหญ่เช่นนั้น ?

สำหรับพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เกิดแนวความคิด แผนก่อการร้ายเพื่อที่จะครองโลกนั้นคือ

1. ยิวมีทัศนะว่ารูปแบบของการปกครองบนโลกทั้งหมดนั้น "ใช้ไม่ได้" จำเป็นต้องเพิ่มการบ่อนทำลายไปจนถึงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อก่อตั้งอาณาจักรยิว

2. การปกครองมนุษย์ คืองานอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความคิดของมนุษย์ยังขาดความประนีต เพราะฉะนั้น การปกครองมวลมนุษย์จึงเป็น "หน้าที่" ของชนชาติยิว

3. มนุษย์ทั่วไปนอกจากชาวยิวจะต้องถูกปกครองเสมือนฝูงสัตว์ที่ต่ำต้อย ถูกต้อน (ถูกปกครอง)

4. ล่อลวงมนุษย์ด้วยตันหาราคะ และแพร่ความชั่วช้า ความเสื่อมโทรม จนกระทั่งประชาชาติต่างนองเลือดกันเอง และไม่มีทางเลือกใด ๆ นอกเสียจากจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวยิว

5. บรรดา ชาวโลกนอกจากยิว โดยเฉพาะพวกผู้นำ ก็คือหมากรุกในมือของพวกเขาที่จะต้องควบคุมให้ได้โดยการข่มขู่ ล่อลวง ให้ผลประโยชน์ ผู้หญิง ตำแหน่งต่าง ๆ ฯลฯ

6. สร้างวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อโลกจะได้เกิดความวุ่นวาย แล้วก็หันไปขอความช่วยเหลือการปัดเป่าความโศกเศร้า และทำให้คนสิ้นคิดมีความสุขด้วยอำนาจของยิว

7. สื่อทุกชนิดจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของยิว ไม่ว่าจะเป็นสื่อการพิมพ์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงละคร บริษัทผลิตภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ศาสตร์แขนงต่าง ๆ กฏหมาย การลงทุนและตลาดหุ้น ฯลฯ

8. ขอความช่วยเหลือจากทองคำ ซึ่งยิวได้กักตุนมันไว้ เพื่อขจัดจิตสำนึก ทำลายมนุษย์ และครอบครองโลกทั้งหมดไว้

ผู้ นำไซออนิสต์ยุคใหม่ ได้จัดประชุมครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1897 จนถึงปี ค.ศ.1951 ถึง 23 ครั้งด้วยกัน กำหนดเป้าหมายเพื่อศึกษาแผนการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การก่อตั้งอาณาจักรไซออนิสต์สากล โดยมีแผนยุทธศาสตร์ 3 ขั้น คือ

1.ก่อนตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์
2.ระหว่างตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์
3.หลังตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์

การขับเคลื่อนองค์กรของลัทธิไซออนิสต์ ในการไปสู่จุดหมายตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ขั้นตอนนั้นจะต้องสร้าง “คน” โดยการคัดเลือกกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพดีที่สุด เข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพมากที่สุด ส่งเสริมกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุด เข้าสู่กระบวนการอุดมศึกษาที่ดีที่สุดในโลก (ฮาวาร์ด, เคม บริดจ์, ออกซ์ฟอร์ด , เอ็มไอที ฯลฯ) สนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพเหล่านี้เข้าทำงานในหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองและเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและอเมริกา และของโลก (UN, FBI, CIA ฯลฯ) ถ้าจำเป็นก็ให้กำจัดคู่แข่งของเยาวชนยิวเหล่านี้ทุกวิถีทาง โดยใช้อิทธิพลทางการเมืองและทางเศรษฐกิจที่เยาวชนยิวรุ่นก่อน ๆ ได้สร้างสมไว้ หากมองเพียงผิวเผินก็เป็นลักษณะรุ่นพี่สนับสนุนรุ่นน้องให้เติบโตตามสายงาน ธรรมดา ๆ แต่เมื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเต็มไปด้วยพลังอำนาจ มีการใช้อิทธิพลทั้งทางการเมือง และทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและรุนแรง เพื่อเป็นหลักประกันว่า กลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพจะได้ที่นั่งที่ดีที่สุดรุ่นต่อรุ่น

เพื่อการครอบครองโลกอย่างเบ็ดเสร็จ พวกยิวยังมีความพยายามในการที่จะควบคุมระบบการเงิน การคลัง การธนาคาร ให้อยู่ในกำมือของพวกเขาเท่านั้น พวกเขาจึงคิดสร้างเครื่องมือเพื่อควบคุมระบบการเงิน การคลัง การธนาคารไว้ทั้งหมด โดยการพยายามจัดตั้งองค์การทางการเงินที่สำคัญระดับโลกไว้คอยควบคุมระบบการ เงิน การคลัง การธนาคารทั้งระบบ เช่น ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนา หรือธนาคารโลก (International Bank for Reconstruction and Development/World Bank) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund/IMF) เป็นต้น

หากเราจะพิจารณาลึกลงไปอีกก็จะพบว่ามีชาวยิวหลายคนควบคุมระบบการเงิน การคลัง การธนาคารของโลก เช่น นายอลัน กรีนสแปน อดีต ผู้ว่าการธนาคารชาติอเมริกา (แม้ในปัจจุบันก็ยังมีบทบาทอย่างสูง) นายจอร์จ โซรอส ยิวอเมริกันพ่อมดการเงินระดับโลก ที่เข้ามาถล่มค่าเงินบาทไทยจนเศรษฐกิจไทยแทบล่มสลาย ซึ่งตัวนายจอร์จ โซรอส เอง ก็ประกาศเจตนารมย์อย่างชัดเจนว่าจะบริจาคผลกำไรที่ได้ทั้งหมดจากการถล่ม ค่าเงินบาทไทย ไปเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนยิวในยุโรปตะวันออก เป็นต้น

สื่อในอเมริกาปัจจุบันเกือบทั้งหมด เป็นของยิว อาทิเช่น นิตยสารไทม์ เดลี่ เทเลกราฟ วอชิงตันโพสต์ ดิอิโคโนมิสต์ รวมทั้งบริษัทสร้างภาพยนต์ต่าง ๆ ฯลฯ หมายความว่ากระบวนการรับรู้ข่าวสารของอเมริกันชนและยุโรปทั้งหมด ถูกปิดหูปิดตาด้วยโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างภาพให้ดูให้รู้สึกโดย “ขบวนการไซออนิสต์” ซึ่งพัฒนาไปไกล และยิ่งใหญ่กว่า "CIA" หรือ "FBI" หรือแม้แต่ “รัฐชาติ" (Nation State) ไปมากแล้ว นั่นก็คือการดำเนินชีวิตประจำวันของอเมริกันชน ผิวขาว ผิวดำ ผิวสี ในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อรับใช้ยิวโดยไม่รู้ตัว

ไซ ออนิสต์ มีสมาคมและองค์กรทั้งลับและไม่ลับอีกเป็นจำนวนมากทั้งในยุโรปและอเมริกา และตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (สโมสรไลออนส์, สโมสรโรตารี่) ปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน แม้ว่าบางครั้งอาจจะมองว่าขัดแย้งกัน แต่ธาตุแท้แล้วทั้งหมดนั้นเป็นการจัดฉากแสดงละคร เพื่อผลประโยชน์ถาวรของยิวโลกทั้งสิ้น

บทเรียน ในเรื่องความฉลาดของยิว ได้สอนให้เราเห็นถึง “ความฉลาด ที่ไร้คุณธรรม” หากเราคนไทยได้อ่านบทพระราชนิพนธ์แปลของล้นเกล้ารัชการที่ 6 เรื่อง "เวนิส วานิช" พระองค์ได้ทรงสอนคนไทยเราให้รู้จักยิวมาเกือบร้อยปีแล้วว่า แท้จริง “ยิว” นั้นเป็นอย่างไร?

รัฐบาล หรือกองทัพของบางประเทศที่ดำเนินนโยบายตามหลักนิยมชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่าง ไม่มี เงื่อนไข ไม่บิดพลิ้ว ไม่ลืมหูลืมตา จนได้รับฉายา หรือคำเรียกขานว่า “Good Boy” จงสำเหนียกไว้ว่า กำลังนำอนาคตของชาติไปฝากไว้ในอุ้งหัตถ์ซาตาน รอวันเวลาที่จะสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน

บทสรุป

จาก ร่องรอยหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ทำให้เราพอจะมองออกแล้วว่า ใครคือ "ภัยคุกคาม" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" ตัวจริงของโลก พฤติกรรมต่าง ๆ ของรัฐอิสราเอล โดยมี "ขบวนการยิวไซออนิสต์" ชักใยอยู่เบื้องหลังนั้น ล้วนเป็นพฤติกรรมของการก่อการร้าย ที่นิยมการใช้ความรุนแรงและแนวทางสุดโต่งเป็นพื้นฐาน เป็นเผด็จการอำนาจนิยมอย่างแท้จริง โลกจะต้องรู้เท่าทันองค์การก่อการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคนี้ให้ได้ ถ้าหากพวกเรายังนิ่งเฉย ไม่คิดหาวิธีการหรือกระบวนการที่เหมาะสม ไว้เพื่อต่อกรกับ ขบวนการไซออนิสต์ แล้ว เชื่อแน่ว่าภายในไม่เกินหนึ่งร้อยปีจากนี้ไป พวกเราจะมีสภาพไม่แตกต่างไปจากชาวปาเลสไตน์นั่นเอง

คัดลอกมาจากเว็บไซต์ Supachaij's Site

02 March 2012

แด่ชีวิตที่สุญเสียในซีเรีย

คุฏบะฮฺวันศุกร์
มัสยิดพัฒนาวิทยา อ.เมือง จ.ยะลา
9 รอบีอุล อาคีรฺ ฮ.ศ. 1433 ตรงกับ 2 มีนาคม 2555
"دمي جيوا يغترتيندس د سوريا"

โดย :
อ.ซูฮัยมีย์ อาแว แผนกวิชาสามัญ วิทยาลัยเทคนิคยะลา
e-mail : mipandan@gmail.com

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณีเสมอ
ความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)

โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงอยู่อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง

อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่า

โอ้มนุษย์เอ๋ย เคราะห์กรรมที่ประสบแก่พวกเจ้าทั้งชีวิต และทรัพย์สินก็ดีก็เนื่องมากจากการฝ่าฝืนข้อบัญญัติที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ และพระองค์ทรงอภัยความผิดอย่างมากมายให้แก่พวกเจ้า โดยที่พระองค์ไม่ทรงลงโทษมิฉะนั้นแล้วพวกเจ้าก็จะประสบความหายนะอยู่ร่ำไป (อัช-ชูรอ : 30)
และพระเจ้าของเจ้าจะไม่ทรงทำลายหมู่บ้านโดยอยุติธรรม (อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการอธรรมต่อบ่าวของพระองค์ แต่พระองค์จะทรงลงโทษพวกเขาเพราะการดื้อดึงปฏิเสธและการกระทำผิด) โดยที่ประชากรของหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ฟื้นฟูทำความดี ( ฮูด : 117)


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ใครก็ตามในหมู่พวกท่านที่เห็นความชั่วร้ายเขาจงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่สามารถก็ด้วยลิ้นของเขา และหากไม่สามารถก็ด้วยใจของเขา และนั้นคืออีมานที่อ่อนแอที่สุดแล้ว“ (เศาะฮีหฺ มุสลิม)

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)
ท่านศาสดา กล่าวว่า
“ อุปมาความรัก ความเอ็นดูเมตตา ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันของผู้ศรัทธา อุปมัยดั่งเรือนร่างเดียวกัน เมื่ออวัยวะส่วนใดเจ็บปวด ส่วนอื่นของร่างกายก็พลอยไม่ได้หลับไม่ได้นอนและไม่สบายไปด้วย” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ และอิมาม มุสลิม )
ประเทศซีเรีย เป็นปริมณฑลของรัฐบาลอิสลามในยุคคุลาฟาอุรรอชีดีนตั้งอยู่ในมณฑลชาม ปัจจุบันมีชื่อทางการว่า สาธาณรัฐอาหรับซีเรีย ปกครองโดยระบบสังคมนิยม มีพลเมือง 22 ล้านคน ประกอบด้วย มุสลิมซุนนีร้อยละ 75, ผู้นับถือชีอะห์อัล-อลาวียะห์ซึ่งเป็นศาสนาของ อัสซาด ร้อยละ 12 ส่วนที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์
ซีเรียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1946 (๒๔๘๙) หรือเมื่อ ๖๖ ปีที่ผ่านมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1970(๒๕๑๓) พันเอก Hafez al – Assad ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ และในปี ค.ศ. 1971 (๒๕๑๔) ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อ มิถุนายน 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี Dr. Bashar Al-Assad ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เป็นฉนวนแห่งการต่อต้านรัฐบาลสังคมนิยมทหารของซีเรีย มาตรา ๘ ซึ่งกำหนดให้พรรคบาธเป็น “ผู้นำของรัฐและสังคม” ซึ่งก็เท่ากับว่าอำนาจผูกขาดของสมาชิกพรรคบาธที่มีมานับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติปี 1963 ซึ่งส่งผลให้บิดาของ อัสซาด ได้ขึ้นมาครองอำนาจในซีเรีย
อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันยังห้ามไม่ให้กลุ่มศาสนาก่อตั้งพรรคการเมืองเนื่องจากสังคมซีเรียที่มีพื้นฐานแบบ “พหุนิยม” และซีเรียในฐานะรัฐสังคมนิยม จึงกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของตนมาตราที่ 60 ซึ่งระบุให้ผู้แทนราษฎรครึ่งหนึ่งของสภาจะต้องมาจาก “ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร” และถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจมาโดยตลอด
การประท้วงของประชาชนทีมีขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองในหลาย ๆ ด้าน โดยสรุปดังนี้
1.ยกเลิกกฎหมายฉุกเฉิน หรือ Emergency Law ที่ถูกใช้มานานถึง ๔๘ ปี
2.หยุดพฤติกรรม “ศาลเตี้ย” ของรัฐบาล การฆ่า และการทรมานผู้แข็งข้อ
3.ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และกลุ่มผู้ประท้วงที่ถูกจับ
4.เปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นอิสระภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
5.ให้อิสรภาพแก่สื่อสารมวลชน
6.ให้องค์กรตุลาการเป็นหน่วยงานอิสระ หยุดศาลเตี้ย และกฎอัยการศึก
7.ให้รัฐจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่โดนเนรเทศทางการเมือง บุคคลที่หายสาบสูญ และนักโทษทางการเมือง
จากข้อเรียกร้องทั้งหมดมีเพียงข้อที่ ๔ ที่รัฐบาล อัล-อัสซาด ได้รับปากจะดำเนินการทันที ซึ่งทางรัฐบาลอัล-อัสซาด ได้จัดให้มีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ในขณะที่การกวาดล้างผู้ประท้วงยังดำเนินต่อไปในหลายพื้นที่
ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ลินน์ ปาสโก เปิดเผยในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ว่า กองกำลังรัฐบาลดามัสกัสสังหารพลเรือนไปแล้วมากกว่า 7,500 ราย ตลอดการประท้วง 11 เดือนที่ผ่านมา
ในเมืองฮอมส์ซึ่งอยู่ในการปิดล้อมของทหารรัฐบาล พลเรือนที่ขวัญหนีดีฝ่อต้องทนกับสภาพอดยาก ขาดอาหาร น้ำ และยารักษาโรค “มีรายงานที่เชื่อถือได้ระบุว่า มีคนเสียชีวิตเกินกว่า 100 คนต่อวันบ่อยครั้ง”
การประชุมของกลุ่ม “เฟรนด์ ออฟ ซีเรีย” ซึ่งมีชาติต่างๆ เข้าร่วมมากกว่า 60 ประเทศ ได้ข้อสรุปจากการหารือในกรุงตูนิส เมืองหลวงตูนิเซีย วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องการยุติความรุนแรงในทันที และประกาศมาตรการลงโทษรัฐบาลประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย เพิ่มเติมที่รุนแรงยิ่งขึ้น

แถลงการณ์ของ เฟรนด์ ออฟ ซีเรีย มีดังนี้
ประณามรัฐบาลซีเรียอย่างรุนแรง ต่อการละเมิดสิทธิมนุษชนที่กระทำกันเป็นระบบในทุกๆ วัน เช่น “การสังหารและการประหารชีวิตผู้ประท้วงโดยสันติ การใช้ความรุนแรงทางเพศ และการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อนักโทษหลายพันคน ซึ่งมีเด็กรวมอยู่ด้วย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พฤติกรรมที่สมควรถูกประณาม จากการใช้รถถังและปืนใหญ่ “โจมตีที่อยู่อาศัยของพลเรือนในเมืองต่างๆ”

เรียกร้องให้นานาชาติบังคับใช้คำสั่งห้ามเดินทางเข้าประเทศต่อเจ้าหน้าที่ซีเรีย อายัดทรัพย์สิน และยุติการนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเภทไฮโดรคาร์บอนจากซีเรีย ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และป้องกันการส่งอาวุธให้ซีเรีย
เฟรนด์ ออฟ ซีเรีย แสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในซีเรีย เช่น ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงอาหาร สถานพยาบาล และแหล่งน้ำมัน รวมถึง “การคุกคามและความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่แพทย์ ผู้ป่วย และสถานพยาบาล” กลุ่มเฟรนด์ ออฟ ซีเรีย ยังเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรีย “อนุญาตให้ยูเอ็นและหน่วยงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมลงพื้นที่ประเมินสถานการณ์ได้โดยเสรีและไม่ถูกขัดขวาง”
แถลงการณ์นี้เรียกร้องให้แก้ปัญหาด้วย “การเมือง” ตามแผนการของสันนิบาตอาหรับ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียปล่อยตัวนักโทษที่ถูกจับกุมโดยไม่มีความผิด และถอนกำลังทหารออกจากการปิดล้อมเมืองที่มีการชุมนุม
การกระทำอันโหดร้ายทารูณเหล่านั้นเป็นการทำบาปอันใหญ่หลวงในอิสลาม ท่านรซูลลุลอฮ(ศ็อลฯ) กล่าวในหะดิษบทหนึ่ง รายงานโดยอับดุลลอฮฺ บินมัสอูด กล่าวว่า ท่านรซูลลุลอฮ(ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“ไม่เป็นที่อนุมัติในเลือดของมุสลิมที่ได้กล่าวปฏิญญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าคือศาสนทูตของพระองค์ ยกเว้นในสามกรณี ผู้ทำผิดประเวณีที่ผ่านการแต่งงาน ฆาตกรที่ฆ่าชีวิตมนุษยชาติ และผู้ละทิ้งศาสนาของตนและแยกตัวออกจากสังคมมุสลิม” มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ

ขออัลลอฮฺจงประทานความศิริมงคลแก่ท่านและข้าพเจ้า ด้วยอัล-กุรอานอันประเสริฐ และยังประโยชน์แก่ข้าพเจ้าและท่านด้วยหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรอานและคำตักเตือนที่หลักแหลม และจงตอบรับจากข้าพเจ้าและท่านจากการอ่านอัล-กุรอาน เพราะแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้

ข้าพเจ้าขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และแก่ท่านพร้อมทั้งบรรดามุสลีมีนทั้งหญิงและชาย และมุอฺมีนีนทั้งหญิงและชาย ขอได้โปรดให้อภัยแก่พวกเราด้วยเถิด อามีน
--------------------------------------------------------------------

จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่โดย : คณะกรรมการมัสยิดพัฒนาวิทยายะลา
จำนวนที่จัดพิมพ์ : 200 ชุด
สนับสนุนงบประมาณโดย : ร้านขายยาบ้านเภสัช

30 January 2012

Diaspora Melayu Menandai Komuniti Melayu ASEAN


Oleh;
Haji Muhamad Suhaimi Ismail Awae
Majlis Bahasa dan Satera,(MASRA)Thailand

Pendahuluan

Istilah Melayu dalam rencana ini perlu dijelaskan kerana tanah kediaman orang Melayu di Asia Tenggara sudah berpecah-belah akibat ditakluki kaum penjajah secara silih berganti. Penjajah yang dimaksudkan itu adalah Portugis, Sepanyol, Belanda, Inggeris, Amerika Syarikat, Perancis dari barat dan yang dari Asia Tenggara dan Asia pula ialah Thailand dan mungkin juga Viet (yang membentuk negara barunya Vietnam). Memang dipersetujui orang Melayu adalah sekurang-kurangnya bangsa pribumi yang mendiami merata tempat di Tenggara Asia ini yang dirujuk hampir semua penulis sebagai Gugusan Kepulauan Melayu.
Perincian pertama tentang geografi dan aspek kebiopelbagaian Kepulauan Melayu telah dilakukan Wallace (1863) dan dengan lebih komprehensif lagi dalam bukunya The Malay Archipelago. Buku itu telah diulang cetak dengan terbitan yang terbaru dibuat Oxford University Press (1986). Berasaskan tabii kebiopelbagaian, beliau mentakrifkan Gugusan Kepulauan Melayu sebagai “Rantau Asia Tenggara yang hampir-hampir berbentuk segi tiga, bermula di Pulau Nikobar di Timur Laut ke Pulau Solomon di Tenggara, dan dari Luzon di Utara ke Rotti dekat pulau Timor di Selatan”. Kawasan yang luas itu dibahaginya kepada lima kumpulan:
Kepulauan Indo-Malaya,
Kepulauan Timor,
Kepulauan Maluku dan
Kepulauan Papua.
Orang Barat sejak abad ke-18 sentiasa merujuk kawasan ini sebagai Gugusan Kepulauan India atau Hindia Timur (nama syarikat yang berpusat di India). Kedua-dua nama itu tidak disukai Wallace yang berpendapat ia lebih baik dinamakan sebagai Gugusan Kepulauan Indo-Australia. Ternyata nama Gugusan Kepulauan Melayulah lebih sesuai dan dapat diterima umum sebagaimana yang terpancar daripada nama makalah dan buku Wallace sendiri, kerana ia berasaskan rupa bangsa di rantau ini yang dikelaskan sebagai orang Melayu oleh orang Barat sendiri, sekurang-kurangnya sejak Marco Polo menceritakan pelayarannya melalui rantau ini pada abad ke-13.
Diaspora Melayu
Fenomena ini mula berlaku pada zaman Sriwijaya antara abad ke-7 hingga abad ke-13 secara kecil-kecilan dan mungkin berkeluarga. Rumpun Melayu itu berhijrah dengan belayar ke Pulau Madagaskar di pantai timur benua Afrika. Mereka dikatakan penyumbang kepada tamadun awal di pantai timur benua Afrika dengan memperkenalkan kegiatan bercucuk tanam dan memelihara ternakan.
Penonjolan Rumpun Melayu sebagai minoriti terdapat di Pulau Hainan dan wilayah Kwantung di Selatan Negeri Cina. Mereka dipercayai adalah daripada keturunan Champa yang mendiami pesisiran pantai Semenanjung Indo-China. Sekumpulan yang agak besar keturunan Melayu Champa dari Vietnam itu, disebabkan oleh peperangan, mereka berhijrah dan menjadi penduduk tetap di negara Cambodia, dianggarkan hampir sejuta orang. Di Vietnam mereka adalah penduduk peribumi yang pernah menubuhkan kerajaan Melayu Champa yang bertahan agak lama dari abad ke-2 hingga ke pertengahan abad ke-15 Masihi. Kerajaan Champa itu tumbang setelah sekian lama berperang dengan bangsa Daiviets dari utara yang kini menjadikan wilayah itu sebagai Vietnam.
Di Segenting Kra, terdapat sekitar 100,000 pribumi Melayu tetapi perkampungan mereka termasuk ke dalam sempadan Selatan Myanmar.
Sebahagian besar Melayu diaspora, iaitu mereka yang berhijrah dan menjadi kelompok minoriti di negara-negara di luar Alam Melayu, melakukan penghijrahan pada zaman penjajahan di wilayah budaya Alam Melayu ini. Ini termasuklah kewujudan Melayu diaspora di Australia, Britain, Sri Lanka, Afrika Selatan, Surinam, Arab Saudi dan beberapa lagi. Tetapi penghijrahan juga berlaku pada zaman selepas penjajahan seperti kehadiran rumpun Melayu keturunan Champa di Amerika Syarikat dan Perancis serta rumpun Melayu dari wilayah Patani (Selatan Siam) dan Malaysia di Arab Saudi dan Mesir, serta rumpun Melayu Sri Lanka di Canada.
Alam Melayu yang berasaskan bahasa adalah lebih luas lagi kerana merangkumi ASEAN, Madagaskar, Taiwan, malah New Zealand dan pepulau Easter
Perubahan sejarah, geografi, politik negara-bangsa selepas penjajahan turut berubah juga minda orang Melayu. Sejak dijajah, minda orang Melayu beransur-ansur berubah sehingga konsep bangsa Melayu itu sendiri pun turut berubah, terutamanya akibat kebangkitan negara-negara baru di Gugusan Kepulauan Melayu, hasil pembebasan daripada penjajahan yang berlainan masa seperti Malaya, Persekutuan Tanah Melayu, Sabah, Sarawak, Malaysia, Indonesia, Brunei, Singapura, Filipina, Thailand, Kemboja, Vietnam, Madagaskar, Taiwan dan lain-lain.

Nasib anak Bangsa Melayu di luar Persekutuan Tanah Melayu (PTM) mungkin terpinggir jika tidak dengan kerja keras sebuaha badan yang sangat berjasa kepada Bangsa Melayu yang di tonjolkan dengan nama GAPENA itu. Oleh kerana seolah – olah dinafikan sebagai Melayu bagi orang Melayu yang berada di luar Persekutuan Tanah Melayu, Mengikut perlembagaan Persekutuan Tanah Melayu, Melayu ditakrifkan sebagai orang di Persekutuan Tanah Melayu yang mengamalkan kebudayaan Melayu dan beragama Islam. Takrif ini bukan sahaja kabur, tetapi juga menyempitkan makna Melayu yang asalnya bukan sahaja merujuk kepada orang Melayu di Persekutuan Tanah Melayu, tetapi juga orang Melayu serumpun di luar Persekutuan Tanah Melayu. Orang yang serumpun dengan orang Melayu di Persekutuan Tanah Melayu dan berada di Persekutuan Tanah Melayu, tetapi bukan Islam dengan serta-merta menjadi orang bukan Melayu

Hubungan persemendaan dan kekeluargaan antara Patani dengan negeri-negeri Melayu Semenanjung telah berlaku sebelum dan sesudah Islam. Dalam hal ini banyak sumber Portugis menceritakan bahawa sewaktu kerajaan Siam berada di bawah pemerintahan Borom Raj I.(1370 -
88), baginda memperoleh seorang putri daripada perkahwinannya dengan anak pembesar Patani. Kemudian putranya telah dikahwinkan dengan Tamagi yang dilantik menjadi syahbandar di Singapura yang pada waktu itu di bawah pemerintahan Paduka Seri Maharaja (1376 – 89).

Menurut sumber Sejarah Melayu, setelah memluk agama Islam, Parameswara kemudian dikenali dengan nama Raja Iskandar Syah; anakandanya Raja Ahmad telah dijodohkan dengan seorang puteri Patani dari Kota Mahligai:

Shadan, telah berapa lamanya Paduka Seri Maharaja di atas kerajaan, maka baginda pun mangkatlah. Maka anakanda baginda Raja Iskandar Syah naik raja menggantikan kerajaan ayahanda baginda, beristerikan anak Tun Perpatih Tulus. Baginda beranak seorang lelaki bernama Raja Ahmad, timang-timangan Raja besar muda, terlalu baik rupanya dan sikapnya, tiada berbagai pada zaman itu. Setelah sudah besar maka didudukan baginda dengan anak Raja Sulaiman raja Kota Mahligai,bernma Puteri Kamarul Ajaib, terlalu baik parasnya tidak berbagai pada zaman itu.

Dalam konteks Alam Melayu, rantau Asia mempunyai sejarah universalisasi dan globalisasi yang istimewa tentang dominasi kepahlawanan dan keintelektualan pre-excellent umat dan wira Melayu sebelum kedatangan penjajah.
Sesungguhnya potensi besar Alam Melayu dengan segala kekuatan yang ada sudah cukup dan mampu untuk bangkit menjadi bangsa berjiwa besar dengan jumlah penduduk umat Melayu di Asia Tenggara yang melebihi dari 300 juta, ianya cukup berpotensi walau di sudut mana sahaja. seperti yang pernah diungkapkan oleh Prawoto Mangkuasasmito, tokoh penting Masyumi; “…jika dipasang di belakang roda pembangunan bangsa dan negara akan mendorongnya sampai ke puncak-puncak pencapaian yang hingga kini belum sampai kita mimpi-mimpikan”.

Malah,Tansri Prof. Emeritus Dato’ Pendeta Dr.Haji Ismail Hussein ketua satu GAPENA dengan gagasan beliau untuk memartabatkan bahasa Melayu sebagai kesatuan Bahasa Melayu sedunia dan bukan hanya peringkat ASEAN. Katanya;

“….pada kita sekarang memang sedia ada satu eset yang tidak dipunyai oleh negara lain, iaitu kemampuan kita untuk membuka diri dan melihat keluar daripada diri sendiri, untuk melihat bahasa dan kebudayaan Melayu dari sudutnya yang global. Pada awal syarahan ini, ada saya sebutkan peranan Malaysia dalam kebangkitan Melayu global, atau sekurang-kurangnya akan usaha kita untuk membina kesedaran Melayu Global. Dari segi bahasa Melayu, agak selalu juga tokoh-tokoh politik dan budaya kita mengusulkan kesatuan bahasa Melayu sedunia, dan dengan ikhlas pula kita menawarkan bantuan kepada pelbagai pihak dalam mempelajari atau meningkatkan mutu bahasa Melayu,terutama kelompok-kelompok minoriti Melayu di Sri Lanka dan Afrika Selatan.Kadang-kadang dengan cukup konkrit pula kita menyokong pembinaan pusat-pusat kajian Melayu,termasuk bahasa Melayu, di beberapa negara.Terungkapnya gagasan Sekretariat Melayu Antarabangsa di Kuala Lumpur melambangkan keghairahan kita dari segi itu. Melalui sikap dan usaha kita itu, Malaysia memang telah menjadi tempat perhatian bagi kelompok-kelompok rumpun Melayu di luar Indonesia, malah bagi beberapa bahagian Negara Indonesia sendiri. Kejayaan kita dari segi ini adalah lantaran sikap kita yang kulturil, bukannya politik dan negara kita itu kebetulan kecil pula, jadi tidak mengancam sesiapa. Kita sebenarnya cukup mampu menjadi duta Melayu global yang seperti itu; dengan itu patutlah kita eksploitasikan aset ini bagi keagungan bahasa Melayu sendiri.”

Wialayah Selatan Thailand, turut digamit bersama menyertai
Dialog Utara VII pada 25-28 November 1997 di Ipoh,Perak.Setelah Perak diterima sebagai anggota penuh dialog itu.Pertemuan berikutnya Selatan Thailand mendapat penghormatan untuk melangsungkan dialog di tiga wilayah selatan Thailand, (Naratiwat-Yala-Pattani).dialog ini diadakan pada 1-4 Desember 1999 dengan tema “Membina Jambatan Budaya Antara Thailand dengan Negara-Negara di Selatan” di Naratiwat-Yala-Pattani.
Seterusnya dengan cukup bersemangat, pada Dialog Utara X sekali lagi Selatan Thailand diberi penghormatan apabila dapat peluang menganjurkan bersama dialog utara itu di Yala. Bertemakan “Yala: Dataran Sankala Giri” Anjuran bersama Yayasan Kebudayaan Islam Selatan (YAKIS),GAPENA,2PNP,ASASI,3P&LEPAS. Pada 20-21 September 2003. Sekalipun secara kecil-kecilan namun ia cukup bermakna dan dapat menyalakan semangat budaya kepada keluarga Melayu di wilayah-wilayah selatan Thailand.
Perlu disebut juga bahawa suatu majlis seminar diadakan juga oleh GAPENA di ibu kota Bangkok. ‘Pertemuan Kerja Sama Melayu-Islam ASEAN’ atas naungan YB. Menteri Pengangkutan dan Komunikasi di Hotel Chaleena,Bangkok.Pada 29 Mac -1 April 2002.Perbincangan disasarkan kepada masalah sejarah dan kebudayaan masyarakat Melayu di Lembah Chao Phraya merangkumi kawasan ibu kota kuno Ayuthya dan perkampungan Melayu Pattani di wilayah Patum Thani, Thailand.Pertemuan dihadiri 300 orang peserta dari Thailand,Malaysia,Indonesia dan Singapura menyertai acara ini.

Pemerkasaan Komuniti Melayu ASEAN

Realiti negara ASEAN,yang lokasinya sebagai kawasan bermastautin penduduk Bangsa Melayu itu, membentuk identitinya yang tersendiri berbanding dengan kesatuan – kesatauan yang terdapat di rantau lain.

Keadaan ini berlaku kerana kewujudan negara-negara Melayu seperti Malaysia,Indonesia dan Brunei yang mewakili dunia Melayu, memiliki jumlah penduduk terbesar bagi rantau ASEAN malahan ia menjadi ‘Komuniti Muslim’ Terbesar dunia. Justeru orang Melayu, baik yang bersifat refomis mahupun tradisionalis, samada dalam aspek ekonomi, politik, sosial, budaya seni,bahasa,dan lain-lain. Masyarakat dunia mengenali sebagai Komuniti Muslim.
Dalam paradigm sosial politik Islam, ada dua kata kunci yang sangat identik dengan kata Komuniti Muslim itu; ‘Ummah’ dan ‘Madinah’ kedua-dua kata kunci ini sama-sama memiliki eksestensi sosial yang dapat dijadikan konsep dasar dan nilai instrumental bagi terbentuknya masyarakat Islam yang beradab.
Dalam perspektif sejarah, ‘ummah’ yang dibangunkan oleh Baginda Rasulullah (saw.) supaya menguatkan solidariti kalangan pemeluk agama Islam.Khususnya bagi kaum Muhajirin konsep ummah merupakan sistem sosial alternative sebagai pengganti sistem sosial tradisional,sistem kabilah puak dan suku kaum masing-masing yang terurai selepas mereka memeluk Islam. Konsep ummah bersifat lintas kesukuan dan kekerabatan atau neopotisme.Kata ummah disebut oleh Allah didalam Al-Quran pada 38 surah,sebanyak 88 ayat dengan jumlah sebanyak 131kali,ianya dirujuk kepada masyarakat madani yang ditegaskan atas dasar solidariti keagamaan dan merupakan manifestasi moral dan nilai-nilai Islam.
Eksistensi umat Islam tidak bersifat ekslusif, kerana Islam merupakan agama universal,pembawa gagasan Rahmatan lilalamin , dengan yang demikian nilai-nilai Islam harus dimasyarakatkan bagi kebaikan umat manusia. Prinsip kerahmatan dan kesemestaan ini menuntut supaya adanya upaya universalisasi nilai-nilai Islam untuk menjadi nilai global.

Dalam konstelasi sejarah Islam, konsep “madinah” pernah mendapat elaborasi yang mendalam dari Al-Farabi (w.950) yang menampilkan teori tentang masyarakat utama ‘al-Madinah al-Fadhilah’ .Al-Farabi menggambarkan masyarakat utama tersebut sebagai masyarakat yang terdiri dari perkumpulan manusia yang bertujuan untuk menegakkan persatuan dan kesatuan sehingga kebahagiaan hakiki dapat terwujud. Dalam kaitan ini al-Farabi menekankan pentingnya kolektiviti social dan etika kolektif dalam mewujudkan nilai akhlak yang tertinggi, dan ini adalah tujuan agama. Gerakan social merupakan factor instrumental untuk reformasi dan perubahan social perlu mengembangkan stika social yang berorientasi pada kebahagiaan universal.

Satu hal yang perlu dikembangkan dalam pembangunan komuniti ASEAN menjelang tahun 2015 sebagai sumbangan Ilmuan dan budayawan Muslim untuk mendukung gagasan ini adalah konsep Madinah dalam perspektif khuluk ul-karim yang bukan hanya komuniti yang membawa makna ‘masyarakat utama’ sahaja malah ia perlu diselenggarakan bersama nilai –nilai keagamaan, kerana agama dan pembangunan ada hubungannya demi kejahteraan.

Penutup

Tidak ada budaya fikir yang tidak mengalami perubahan sama ada akibat daripada proses dalaman atau dampak pengaruh dari luar. Budaya fikir dan Weltanschauung Melayu tidak terkecuali daripada proses dan dampak, terutamanya yang dicetuskan oleh, idea-idea baru dan innovasi teknologi terkini.

Para pengkaji budaya Melayu menyepakati bahawa Weltanschauung Melayu tradisonal ditegakkan atas gagasan pemikiran animisme, hindi dan Islam. Menurut mereka hakikat ini adalah benar walaupun pada suatu zaman dan masa tertentu terdapat ada unsur daripada gagasan tersebut yang lebih menyerlah atau tenggelam berbanding dengan yang lain. Pada zaman mutakhir ini, unsur Islam dianggap sebagai unsur dominan didalam metamorfosis atau "mutasi" yang membentuk pemikiran Melayu tradisonal. Namun apa yang lebih penting ialah kesemua unsur pemikiran tersebut bergabung dalam melahirkan satu kompleks kerangka fikir dan pandangan alam Melayu yang jelas memberatkan penekanan kepada kosmologi metafizik. Kosmologi ini mengabadikan budaya pemikiran yang megutamakan tafsiran simbolisme dan sintesis holistik. Sistem kosmologi dan pandangan alam Melayu, pada asasnya, menekankan interaksi dinamis antara alam metafizik dengan alam material. Interaksi ini dapat difahami melalui sistem simbolisme yang komplek yang dipelihara dan dipupuk oleh kerangka budaya dalam semiotik tradisional Melayu.
Kebudayaan dan ciri-ciri jati diri penduduk asal di Alam Melayu ini sebagai kerangka rujukan kebudayaan Alam Melayu yang dilahirkan daripada wilayah-wilayah yang berbeza seperti Melaka (Malaysia), Singapura, Sumatera, Jawa, Sulawesi, Kepulauan Ternate, Patani (Selatan Thailand), Kemboja, Vietnam, dan sebagainya. Ciri-ciri utama yang digunakan apabila menganggap diri mereka sebagai orang Melayu atau sebahagian daripada rumpun Melayu ialah Bahasa Melayu dan agama Islam.
Lantaran itu dapat disimpulkan bahawa jati diri Melayu dapat dikenal pasti melalui Bahasa dan Agama itu sendiri, namun jika hilang mana-mana satu samada Bahasa atau Agama sudah tentu ia akan mengakibatkan hilangnya jati diri Melayu Muslim Itu semua sekali.Justeru demikian kita perlu menyokong gagasan GAPENA ,mengeratkan hubungan melayu serumpun supaya lebih akrab dan sefahaman.Wallahu aalamu bissawab.

Bibliografi

Husni Thamrin.Problematika Masyarakat Melayu di Asia Tenggara. Dalam,
Alam Melayu Sejumlah Gagasan Menjemput Keagungan.Unri Press
Pekan Baru.Riau.2003
Ismail Hussein.Syarahan Raja Ali Haji.1995 dalam Abdul Latif Abubakar. Ismail Hussein bersama GAPENA Biografi & Koleksi.Jasos.Kuala Lumpur.2002
Shaharir Mohamad Zain. Penyebaran Orang Rumpun Melayu Pra-Islam dan
Perkembangan Tulisan Bahasa Melayu. Sari 21. 2003
Shellabear,W.G. Sejarah Melayu.Kuala Lumpur: Oxford University
Press. 1967.
Syed Muhamad Dawilah Al-Edrus.Idealisme Globalisasi Di Alam Melayu:
Asimilasi Dalam Kontradiksi. Dalam Pemikiran Melayu Tradisi dan
Kesinambungan.Dewan Bahasa dan Pustaka.Kuala Lumpur.2004
Wan Hashim Wan Teh. Rumpun Melayu Minoriti dan Diaspora. Terbitan
Khas RUMPUN, ATMA UKM. 2009

30 December 2011

สิ่งมหัศจรรย์ที่เหนือความมหัศจรรย์

            ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณีเสมอ              
                              ความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)

            จงยึดมั่นในตักวา (ความยำเกรง) ต่อเอกองค์ อัลลอฮฺ อย่างสัจจริง และจงอย่ากลับไปหาอัลลอฮฺ(เสียชีวิต)จนกว่าจะดำเนินตนให้อยู่ในอิสลามอย่างสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺสั่ง และงดเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่า

“และอัลลอฮ์นั้นคือ(เจ้านาย)ผู้ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง(ออกจากความหลงผิด ไปสู่สิ่งถูกต้อง) และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น บรรดา(เจ้านาย)ผู้ช่วยเหลือของพวกเขาก็คือ อัฎ-ฎอฆูต(หมายถึงชัยฎอนและอื่น ๆ) โดยที่พวกมันจะนำพวกเขาออกจากแสงสว่างไปสู่ความมืด (ออกจากสิ่งที่ถูกต้องไปสู่สิ่งที่ผิด) ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรก โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล
(อัล-บากอเร๊าะฮฺ อายัต 257)

          จากอายัตที่อ่านพระองค์ทรงชี้แนะหลักคิดอยู่อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ

1.      อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นเจ้านายที่แท้จริง ที่ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธาเสมอ ดังนั้นผู้ศรัทธาจึงไม่อาจใช้คำว่า
เจ้านายโดยพร่ำเพรื่อ ซึ่งต่างกันกับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งเจ้านายของพวกเขานั้นคือ อัฎ-ฎอฆูต หมายถึง
ชัยฎอนรวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่นอกจากอัลลอฮฺอีกด้วย
      2.      จะเห็นความแตกต่างในภารกิจที่ชัดเจนระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ปฏิเสธศรัทธา โดยบรรดาผู้ศรัทธานั้นจะหนี 
ออกห่างจากความหลงผิดเข้าสู่ความจริงที่ถูกต้องซึ่งเทียบได้กับแสงสว่าง ในขณะเดียวกันบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นจะดำเนินภารกิจที่ตรงข้ามกัน โดยที่พวกเขาจะชักชวนผู้คนออกห่างออกจากสิ่งที่ถูกต้องและไปทำในสิ่งที่ผิด  และนี่คือ “ปรากฏการย้อนศร” ที่กำลังได้รับการเชิดชูจากคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบัน

จากอายัตข้างต้นในทางภาษาพบคำที่น่าสนใจอยู่ 2 คำคือคำว่า "الظلمات" ในรูปพหูพจน์และ "النور" ในรูปอกพจน์โดยมุฟัซซีรีนกล่าวว่า เมื่อคำในรูปพหูพจน์ที่มีนัยเชิงจำนวนที่มากกว่า มาพบกับคำในรูปเอกพจน์ที่มีความหมายตรงข้ามกันนั้น จึงเป็นการตรงข้ามกันระหว่างสิ่งที่ทรงคุณค่า"الفاضل"กับสิ่งที่ถูกทำให้มีคุณค่า"المفضول" หรือระหว่างสัจธรรม"الحق"กับความเท็จ"الباطل" ดังนั้นจำนวนมากจึงไม่ได้เป็นบรรทัดฐาน หรือตัวชี้วัดความถูกต้อง หรือ ความดี แต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันแม้จะเป็นจำนวนน้อยก็ตามแต่ทรงคุณค่ายิ่งในอัลลอฮฺหากอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง

อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวอีกว่า

          “และหากเจ้าเชื่อฟังส่วนมากของผู้คนในแผ่นดินแล้ว พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮฺไป พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการนึกคิดเอาเอง และพวกเขามิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดนอกจากพวกเขาจะคาดคะเนเอาเองเท่านั้น”
                                                                                                        (อัล-อันอาม อายัต 116)

           القرطبيมีความเห็นว่าในคำว่า “พวกเขาก็จะทำให้เจ้าหลงทางจากทางของอัลลอฮฺไป”นั้น หมายความว่า หลงทางออกไปจากแนวทางของการตอบแทนจากอัลลอฮฺ โดยที่พวกเขาจะไม่สนใจต่อการตอบแทนในวันอาคีรัตของอัลลอฮฺแต่พวกเขาจะมุ่งหาผลประโยชน์ที่พวกเขาคาดหวังเอาเองในโลกนี้เท่านั้น ผลตอบแทนในเชิง ‘Meritหรือเชิงบาปบุญ คุณโทษ จะไม่ส่งผลแต่ประการใดในสำนึกพวกเขา 
         เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสังคมที่ถูกครอบงำทางความคิดเช่นปัจจุบัน ที่ได้รับการหล่อหลอมให้มีความเชื่อว่าผลตอบแทนในรูปประโยชน์เฉพาะหน้าหรือในลักษณะ “บริโภคนิยม” ดังปรากฏในโลกทุนนิยมเสรี และประชาธิปไตยสุดขั้วนั้น กำลังจะนำพาสังคมส่วนใหญ่ออกไปจากบรรทัดฐาน บาปบุญ คุณโทษจากอัลลอฮฺ แล้วไปสู่บรรทัดฐานที่เขาทึกทักกันเองว่าดี ถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนแต่ละกลุ่มก็จะสร้างมาตรฐานขึ้นเองตามอำเภอใจ

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)
       
ในสังคมปัจจุบันได้ปรากฏให้เห็นสิ่งที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เหนือความมหัศจรรย์(أعجب العجائب) ขึ้นแล้ว และที่สำคัญเป็น “ปรากฏการณ์ย้อนศร” ในอิสลามอีกด้วยเมื่อเราพบว่า

·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับว่าเป็นมุสลิมแต่ไม่เคยเรียนศาสนา และเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ในอิสลาม
       o  เรียนมาตลอดชีวิตเพื่อให้มีชีวิตที่ดีในโลกนี้แต่ไม่เคยสนใจที่จะเรียนศาสนาเพื่อชีวิตที่ดีทั้งในโลกนี้และในโลกอาคีรัต
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยอมรับว่าเป็นมุอฺมิน (ผู้ศรัทธา)ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักมลาอีกัตของพระองค์ กฎกำหนดสภาวะของพระองค์ ตลอดทั้งวันกียามัตที่จะมาถึง
       o  ชอบพูดตามคนอื่นที่ว่าศาสนาใด ๆ ก็ดีหมดทุกศาสนา เพราะสอนให้คนทำดีจึงทำทุกอย่างเพื่อหาปัจจัยยังชีพและลาภยศโดยไม่สนใจถูกผิด ฮาลาล ฮารอมบาปบุญคุณโทษ
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ศรัทธาในอัลลอฮฺ ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่เชื่อฟังปฏิบัติ และเกรงกลัวอัลลอฮฺ
       o  ยึดระบบการเงินที่อาศัยดอกเบี้ยมาเป็นช่องทางประกอบอาชีพทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว
       o  ฉ้อราษฎร์บังหลวง เรียกรับเงินใต้โต๊ะ หารายได้ในทางลับโดยอ้างว่าเป็นธรรมเนียมที่ใคร ๆ ก็ทำ
·          มีคนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าตนเป็นอุมมัต (ประชาชาติ) นบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ.)แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามนบี แล้วยังนำคนอื่นมายึดมั่นเชื่อถือเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน เช่นกรณี
       o  วัยรุ่นหนุ่มสาวส่วนใหญ่ที่ตามกระแสแฟชั่น ยึดเอาแบบอย่างจากดารา นางแบบนายแบบในการแต่งกาย ตัดแต่งทรงผมโดยไม่สนใจหลักคำสอนในศาสนา
       o  วัยรุ่นหนุ่มสาวบางคนที่หลงกระแสตะวันตกมั่วสุม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพย์ยาเสพย์ติด ทำผิดประเวณี แล้วทำแท้ง                    
        
อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่า
 “และจากหมู่ชนนั้น มีผู้กล่าว่า เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลกแล้ว ทั้ง ๆ ที่พวกเขาหาใช่เป็นผู้ศรัทธาไม่”(หมายถึงพวกมุนาฟิกที่ศรัทธาแต่เพียงคำพูด แต่หัวใจปฏิเสธศรัทธา)
                                                                                                      (อัล-บากอเร๊าะฮฺ อายัต 8)

              สภาวการณ์ดังกล่าวนี้กำลังตอกย้ำให้เรามีความมั่นใจว่าศาสนาอิสลามเท่านั้นเป็นศาสนาที่แท้จริง จากที่ท่านรซูลลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ)ได้กล่าวไว้ล่วงหน้ามาก่อนนับพันปีซึ่งได้ปรากฏเป็นความจริงแล้วในปัจจุบัน ดังที่ท่านอบูฮูร็อยร็อฮฺ (รฏียัลลอฮูอันฮู) กล่าวว่า ท่านรซูลลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ) กล่าวว่า

         “อิสลามนั้นเริ่มต้นด้วยภาวะแปลกแยก แล้วหลังจากนั้นก็จะหวนกลับสู่ภาวะแปลกแยกอีกครั้ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ที่แปลกแยก(จากคนหมู่มากที่ทำผิดศาสนา)”
                                                                                                      รายงานโดยอบูฮูร็อยร็อฮฺ

           รูปธรรมของความแปลกแยกดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้จาก “ปรากฏการณ์ย้อนศร” ในอิสลามที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน กล่าวคือ
 ·       เมื่ออุมัตอิสลามปฏิเสธที่จะปฏิบัติละหมาด จ่ายซะกาต หยุดยั้งความชั่ว และเชิญชวนกันทำอิบาดะฮฺ แม้แต่คนในครอบครัว
·       เมื่ออุมัตอิสลาม ญาฮิลฺ(อวิชา)ในข้อกำหนด บทบัญญัติอิสลาม เช่น ฮาลาล-ฮารอม ถูก-ผิด (ศ็อฮฺ-บาตัลฺ) อีกทั้งยังทำเป็นไม่รู้และไม่รับรู้ในสิ่งต่าง ๆที่ตนต้องปฏิบัติ และไม่เกรงกลัวที่จะทำในสิ่งที่ตนไม่ค่อยแน่ใจ
·       เชื่อมั่นในระบบดอกเบี้ย อีกทั้งยังพยายามอธิบายวิธีการเอาชนะปัญหาเศรษฐกิจด้วยระบบดอกเบี้ยอย่างเก่งกล้าสามารถ และด้วยหลักเหตุผลที่นำมาทำให้เชื่อได้ว่าปราศจากดอกเบี้ยเศรษฐกิจประเทศชาติ และโลกต้องล้มลงแน่นอน เสมือนหนึ่งท้าทายอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของอัลลอฮฺ
·       ยาเสพย์ติด เหล้า บุหรี่ไม่สามารถจะห้ามได้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อหลักสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศชาติ
·       สิ่งที่ชอบด้วยหลักศาสนากลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด เลวร้าย และสิ่งที่ผิดแปลกไปจากหลักศาสนากลับกลายเป็นสิ่งที่ดี เป็นที่เชิดชูยกย่อง อาทิ
     o  การทำผิดประเวณีเป็นสิ่งที่สังคมรับได้ การลงโทษคนทำผิดประเวณีในประเทศมุสลิมบางประเทศกลับถูกประณาม
     o  เปิดเอารัตในบรรดาสตรี และบุรุษที่เกินขอบเขตจนกลายเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่งในวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบโดยไม่รู้สึกสะทกสะท้านต่อหลักคำสอนของศาสนา
     o  รวมทั้งการที่ผู้ชายแต่งกายเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงแต่งกายเป็นผู้ชายจนถึงขนาดผ่าตัดแปลงเพศ แล้วออกมาเรียกร้องสิทธิความชอบธรรมให้สังคมเห็นใจยังอุตสาห์สนับสนุน
·       สัจธรรมและความเท็จถูกเกลือกกลั้วผสมผสานกันจนยากที่จะแยกออกได้
·       เพิ่มดีกรีความเชื่อมั่นต่อหลักกฎหมายของมนุษย์ที่ไม่เคยมั่นคงตั้งอยู่เหนือบทบัญญัติของอัลลอฮฺ

            อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวไว้เพื่อเป็นการปลอบใจท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม เนื่องจากถึงแม้ว่าท่านนบีจะมีความห่วงใยต่อการอีมานของพวกเขาและทุ่มเทกำลังความสามารถในการชี้แนะแก่พวกเขาก็ตาม พวกเขาก็จะไม่ศรัทธาต่อท่านนบี เพราะพวกเขายังคงดื้อดันในความตั้งใจเดิม คือ ปฏิเสธศรัทธา ว่า
                       “และส่วนใหญ่ของมนุษย์จะไม่ศรัทธาต่อเจ้า ถึงแม้เจ้าปรารถนาอย่างยิ่งก็ตาม”
ซูเราะฮฺยูซุฟ อายัตที่ 103

ซึ่งคนในลักษณะดังกล่าวไม่ได้เป็นคนส่วนน้อยแต่เป็นคนส่วนมากที่อาศัยกระแสส่วนมากอย่างโอหัง ไม่เกรงกลัวคำพิพากษาในวันอาคีรัต โดยอัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงยืนยันว่า

“และโดยแน่นอน ส่วนมากของชนรุ่นก่อนหน้าพวกเขาได้หลงผิด(ไปแล้ว)”

ซูเราะฮฺ อัศศ็อฟฟาต อายัตที่ 71

             และในที่สุดพวกเขาก็จะพบกับความเจ็บปวดเป็นที่สุดเมื่ออัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกำชับไว้กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า

และเจ้า(ท่านนบี)จงอย่าละหมาดให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายไปเป็นอันขาด และจงอย่ายืนที่ (ใกล้) หลุมศพของเขาด้วย แท้จริงพวกเขานั้นได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ และพวกเขาได้ตายลง ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ละเมิด(กุฟรฺ)
                                                                                                ซูเราะฮฺ อัตเตาบะฮฺ อายัตที่ 84

พี่น้องผู้ศรัทธา ผู้ร่วมละหมาดญุมอัตทุกท่าน (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา)
 
                 ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
           “ผู้ใดที่อัลลอฮฺประสงค์ให้เขานั้นกลายเป็นคนดี อัลลอฮฺจะทรงให้เขามีความเข้าใจในศาสนา”

             อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวถึงคุณค่าของความรู้และการศรัทธาที่เมื่ออยู่ควบคู่กันก็จะสามารถปกป้องมนุษย์ได้ และจะเป็นผู้ได้รับรางวัลอันใหญ่หลวงในอาคีรัต ว่า :

“แต่ทว่าบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในความรู้ในหมู่พวกเขา(ชาวยิวบางคน) และบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น (อุมัต นบีมูฮัมมัด) พวกเขาย่อมศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า และสิ่งที่ถูกประทานลงมาก่อนเจ้า และบรรดาผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และบรรดาผู้ชำระซะกาต และบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลกชนเหล่านี้แหละเราจะให้แก่พวกเขาซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง
ซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ อายัตที่ 162

             อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงชี้แนวทางให้แก่คนที่หลงผิดไปแล้วได้มีความสำนึกแล้วกลับสู่แนวทางที่ถูกต้องด้วยการทำดี เนื่องจากการทำดีนั้นสามารถจะลบล้างความผิดได้ โดยกล่าวว่า :

 “และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน(หมายถึงละหมาดศุบฮ์และอัศร) และยามต้นจากกลางคืน(หมายถึงละหมาดมักริบและอีชาอ์) แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก (ผู้รำลึกคือผู้ที่อยู่ในแนวทางที่เที่ยงธรรม และดำรงรักษาไว้ซึ่งการละหมาด ดังนั้น การรักษาไว้ซึ่งการละหมาดก็ดี และการทำความดีอย่างอื่น ๆ ก็ดี เป็นข้อเตือนสำหรับผู้รักการตักเตือนและเป็นการชี้แนะแก่ผู้ที่รักการชี้แนะไปสู่ความดี)
                                                                                                        ซูเราะฮฺ ฮูด อายัตที่ 114

 และสำหรับผู้ใดก็ตามที่ประสงค์จะขอลุแก่โทษจากการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติ และเขาปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อัลลอฮ์ ตะอาลา จะทรงรับการขออภัยโทษของเขา และเขาจะได้รับความโปรดปราน ณ ที่พระองค์

“และผู้ใดกลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี แท้จริงเขากลับเนื้อกลับตัวเข้าหาอัลลอฮ์อย่างจริงจัง”
                                                                                                ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน อายัตที่ 71

         ขออัลลอฮฺจงประทานความศิริมงคลแก่ท่านและข้าพเจ้า ด้วยอัล-กุรอานอันประเสริฐ และยังประโยชน์แก่ข้าพเจ้าและท่านด้วยหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรอานและคำตักเตือนที่หลักแหลม และจงตอบรับจากข้าพเจ้าและท่านจากการอ่านอัล-กุรอาน เพราะแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้
         ข้าพเจ้าขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และแก่ท่านพร้อมทั้งบรรดามุสลีมีนทั้งหญิงและชาย และมุอฺมีนีนทั้งหญิงและชาย ขอได้โปรดให้อภัยแก่พวกเราด้วยเถิด อามีน

เชิญส่งความเห็นของท่านไปที่ : mipandan@gmail.com